บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2018

02.02.2561 โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน ณ.หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน.

รูปภาพ
 01. โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน ณ.หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน. โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน จึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญต่างๆมาร่วมในโครงการฯด้วย โครงการฯได้ฉายภาพพระพุทธรูปทั้งหมดสองวัน วันละสิบกว่าชั่วโมง โดยมีผู้คนราว 150 คน ร่วมเป็นสักขีพยานในการกลับมาของพระพุทธรูป พระพุทธรูปบามิยัน เคยยืนทอดสายตามองเหนือหุบเขาบาบิยัน ตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน มาเป็นเวลานานถึงกว่า 1,500 ปี ทว่า ในเดือน มี.ค. ปี พ.ศ. 2544 กลุ่มตอลิบันได้ใช้ระเบิดไดนาไมต์ ทำลายอันตธานไปจากหน้าผาหุบเขาบามิยัน และกลุ่มตอลิบันก็ล่มสลายในเวลาต่อมา  แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ บามิยันเป็นอย่างยิ่ง  ณ ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พระพุทธรูปแกะสลักแห่งหุบเขาบามิยัน ที่ชาวไทยมักเรียก หลวงพ่อ บิมิยัน ดูดั่งได้กลับมาปรากฏกายสว่างเรืองรอง ณ หุบเขาบามิยัน  02.โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน ณ.หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน. คู่รักเศรษฐีแดนมังกร  จางซินอวี๋และเหลียงหง ทุ่มเง

02.02.2561 พระพุทธรูปยืนแห่งบามียัน ที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ในอดีต ณ ดินแดนแห่งพุทธศาสนา ในกาลก่อน.

รูปภาพ
ขอบคุณ ภาพและข้อมูลจาก  https://narater2010.blogspot.com/2011/01/blog-post_686.html ย้อนอดีตบามิยัน พระพุทธรูปยืนแห่งบามียัน : ย้อนอดีต และ อดีตของอดีต  พระพุทธรูปยืนแห่งบามียัน   ย้อนอดีต และ อดีตของอดีต   พระพุทธรูปยืนสูงตระหง่าน 50 เมตร แห่งบามียัน(Bamiyan) ที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธ ในอดีต ณ ดินแดนแห่งพุทธศาสนา แต่กาลก่อน   บามียัน(bamiyan) : ดินแดนแห่งความขัดแย้งในปัจจุบัน   อาฟกานิสถาน ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางสายไหม(Silk Road) ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าจากยุโรปมายังเอเชีย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมไปยังดินแดนต่างๆ หลายคนอาจแปลกใจว่าทำไมจึงมีพระพุทธรูปอยู่ในประเทศอาฟกานิสถาน ที่เป็นมุสลิม ที่ปัจจุบัน ผู้คนในอาฟกานิสถานนับถือศาสนาอิสลาม   เมืองบามียัน ประเทศอัฟกานิสถาน อยู่ห่างจากเมืองคาบูล ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศอัฟกานิสถาน ไปทางตะวันตกประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร เฉียงขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อย ในประวัติศาสตร์สมัยพุทธกาล บริเวณแถวนี้อยู่ชายขอบแคว้นคันทาระ (หรือคัณธารราฐ) ซึ่งเป็นแคว้นใหญ่ ในปัจจุบันจะครอบคลุมประเทศปากีสถานภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วกินเข้าไปทางอัฟก

02.02.2561 พระพุทธรูปแห่งบามียาน แห่ง หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน.

รูปภาพ
พระพุทธรูปแห่งบามียาน แห่ง หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ประเทศอัฟกานิสถาน.  จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (เปลี่ยนทางจาก  พระพุทธรูปแห่งบามิยัน ) พระพุทธรูปแห่งบามียาน  ( พัชโต :  د بودا بتان په باميانو کې ‎  De Buda butan pe bamiyano ke ;  เปอร์เซีย :  تندیس‌های بودا در باميان ‎  tandis-ha-ye buda dar bamiyaan ) เป็น พระพุทธรูป ยืนจำนวนสององค์ที่สลักอยู่บนหน้าผาสูงสองพันห้าร้อย เมตร ในหุบผาบามียาน ณ  จังหวัดบามียาน  ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของ ประเทศอัฟกานิสถาน  อันห่างจาก กรุงคาบูล ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณสองร้อยสามสิบ กิโลเมตร  หมู่พระพุทธรูปนี้สถาปนาขึ้นใน พุทธศตวรรษที่ 10  ตาม ศิลปะ แบบ กรีกโบราณ หมู่พระพุทธรูปนี้ถูกทำลายด้วยระเบิด ไดนาไมต์ เมื่อเดือน มีนาคม   พ.ศ. 2544  ตามคำสั่งของนาย มุลลอฮ์ มุฮัมมัด อุมัร  ประมุขของรัฐบาล ฏอลิบาน  ซึ่งให้เหตุผลว่า กฎหมายอิสลาม ไม่อนุญาตให้บูชารูปเคารพ ในขณะที่นานาประเทศต่างการประณามการกระทำของรัฐบาลฏอลิบานอย่างรุนแรง เพราะหมู่พระพุทธรูปนี้มิใช่สมบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เป็น " มรดกโลก " อันเป็นสาธารณสม

02.02.2561 ศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถาน

รูปภาพ
ศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถาน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี พุทธศาสนา ได้เผยแพร่เข้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกลุ่มชาว ศากยะ ที่หนีตายจาก พระเจ้าวิฑฑูภะ มีเจ้าชายองค์หนึ่งได้สมรสกับกับพระเทพธิดาพญานาค แล้วตั้งรกรากอยู่ที่ แคว้นอุทยาน  (Udyana) ทางตอนเหนือของ อัฟกานิสถาน ในปัจจุบัน และต่อมาก็หลังทุติยสังคายนาก็มีพระกลุ่มมหาสังฆิกะได้เผยแพร่ในบริเวณ แคว้นนครหาร  (Nagarahara) ซึ่งใกล้ แคว้นคันธาระ ทางทิศเหนือ แต่สองยุคนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัดทางประวัติศาสตร์ เนื้อหา    [ ซ่อน ]  1 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช 2 สมัยพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) 3 ยุคมุสลิมรุกรานและปัจจุบัน 4 ดูเพิ่ม 5 อ้างอิง 6 แหล่งข้อมูลอื่น สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช [ แก้ ] ต่อมา  พ.ศ. 300   พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระธรรมทูตไปเผยแพร่ 2 สาย คือ พระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้า เผยแพร่พุทธศาสนาใน แคว้นกัษมีระ และ แคว้นคันธาระ และพระมหาธัมมรักขิตเถระเป็นหัวหน้า เผยแพร่ พุทธศาสนา ใน แคว้นโยนก บ้านเกิดของท่านเองเป็นเขตแดน บากเตรีย หรือ อัฟกานิสถาน ในปัจจุบัน ซึ่งยุคนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของ กรีก ตั้งแต่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ม