02.02.2561 พระพุทธรูปแห่งบามียาน แห่ง หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน.
พระพุทธรูปแห่งบามียาน แห่ง หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ประเทศอัฟกานิสถาน.
(เปลี่ยนทางจาก พระพุทธรูปแห่งบามิยัน)
พระพุทธรูปแห่งบามียาน (พัชโต: د بودا بتان په باميانو کې De Buda butan pe bamiyano ke; เปอร์เซีย: تندیسهای بودا در باميان tandis-ha-ye buda dar bamiyaan) เป็นพระพุทธรูปยืนจำนวนสององค์ที่สลักอยู่บนหน้าผาสูงสองพันห้าร้อยเมตรในหุบผาบามียาน ณ จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน อันห่างจากกรุงคาบูลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณสองร้อยสามสิบกิโลเมตร หมู่พระพุทธรูปนี้สถาปนาขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 ตามศิลปะแบบกรีกโบราณ
หมู่พระพุทธรูปนี้ถูกทำลายด้วยระเบิดไดนาไมต์เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 ตามคำสั่งของนายมุลลอฮ์ มุฮัมมัด อุมัร ประมุขของรัฐบาลฏอลิบาน ซึ่งให้เหตุผลว่ากฎหมายอิสลามไม่อนุญาตให้บูชารูปเคารพ ในขณะที่นานาประเทศต่างการประณามการกระทำของรัฐบาลฏอลิบานอย่างรุนแรง เพราะหมู่พระพุทธรูปนี้มิใช่สมบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เป็น "มรดกโลก" อันเป็นสาธารณสมบัติและความภาคภูมิใจของคนทั้งโลก โดยญี่ปุ่นและสวิตเซอร์แลนด์ร่วมใจกันสนับสนุนให้มีการปฏิสังขรพระพุทธรูปนี้อีกครั้งหนึ่ง
ประวัติ[แก้]
หุบเขาบามียานนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมระหว่างจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป มีการค้นพบศาสนสถานทางศาสนาพุทธและฮินดูเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 แห่ง เป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาในบริเวณนั้นมาก่อนที่จะมีการมาถึงของศาสนาอิสลามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13
ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในบริเวณนี้คือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 3 องค์ 2 องค์แรกสร้างในช่วงปี พ.ศ. 1050 (ค.ศ. 507) มีความสูง 37 เมตร และองค์ที่ 3 สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1097 (ค.ศ. 554) สูง 55 เมตร เป็น "พระพุทธรูปแกะสลักฝาผนังที่ใหญ่ที่สุดในโลก"ซึ่งทั้งหมดนี้คาดกันว่าสร้างโดยพระเถระและราชวงศ์แห่งราชวงศ์คุปตะแห่งอินเดีย ตามฝาถ้ำที่ได้ขุดเจาะกันไว้นั้น มีการวาดภาพ ซึ่งบ่งบอกถึงการผสมผสานของศิลปะคุปตะ ศิลปะคันธาระ และศิลปะเปอร์เซียได้อย่างชัดเจน และเมื่อพระถังซำจั๋งได้เดินทางไปชมพูทวีปในปี พ.ศ. 1173 (ค.ศ. 650) ท่านได้เล่าว่าพระพุทธรูปได้เหลืองอร่ามไปด้วยทองคำ และมีพระกว่า 1,000 รูปจำวัดอยู่
ที่นี่มีอารามมากกว่า 10 แห่ง มีพระสงฆ์หลายพันรูป ล้วนเป็นฝ่ายโลกุตตรวาท (โลกุตตรวาทิน) สังกัด นิกายมหายาน พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้ คือ พระอารยทูต (Aryaduta) และพระอารยเสน (Aryasena) มีความรู้ในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ที่เนินเขาของนครหลวง มีพระพุทธรูปยืนซึ่งจำหลักด้วยศิลา สูง 150 เฉี๊ยะ (มาตราวัดจีน) ถัดจากนี้ไปเป็นอาราม และพระปฏิมาจำหลักด้วนแก้วกาจ สูง 100 เฉี๊ยะ อารามนี้ มีพระพุทธไสยาสน์ความยาว 1,000 เฉี๊ยะ บรรดาพระพุทธรูปเหล่านี้ล้วนเป็นฝีมือที่ปราณีต สวยงาม นอกจากนี้ยังมีอารามประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว พระทันตธาตุของพระพุทธเจ้าอีกด้วย
ระหว่างช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,600 ปีของพระพุทธรูปแห่งนี้ ได้พบเจอกับสงครามและการจู่โจมมาโดยตลอด ถึงแม้จะมีชนพื้นเมืองชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งคือชาวฮะซาระฮ์ ได้ปกป้องศาสนาสถานแห่งนี้มาก็ตาม เริ่มต้นด้วยการเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในบริเวณนี้และการมาของศาสนาอิสลาม การทำลายและการบุกรุกโจรกรรมวัตถุต่าง ๆ จากถ้ำภายในตั้งแต่ 900 ปีที่แล้ว จนมาถึงปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) เมื่อสหภาพโซเวียต นำทหารเข้าบุกเข้าโจมตีอัฟกานิสถาน ตามมาด้วยสงครามอัฟกัน และสิ้นสุดลงด้วยการระเบิดของกลุ่มฏอลิบานเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ในปี พ.ศ. 2544 จากการสำรวจ ได้มีรายงานว่ากว่า 80% ของภาพตามฝาผนังถ้ำได้ถูกทำลายลงไปแล้ว
คำให้การของนายชีค มีร์ซา ฮุสเซน มือระเบิดทำลายพระพุทธรูปบามียานตามคำสั่งของอำนาจฏอลิบาน กล่าวว่า ถ้าเขาไม่ระเบิดพระพุทธรูป ฏอลิบานจะฆ่าเขาทิ้ง เพราะก่อนหน้านั้นฏอลิบานฆ่าลูกชายสองคนของเขาเหมือนสุนัขข้างถนน เขาจึงต้องทำเพื่อการอยู่รอด เขามีความเชื่อว่าด้านหน้าของพระพุทธรูปที่ถูกทำลายลง มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มีพระพักตร์อมยิ้ม ฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ได้ยินมาจากบรรพบุรุษสืบขานกันต่อหลายชั่วอายุคนสอดคลึงกับคำบอกกล่าวของพระถังซัมจั๋ง ที่ได้เห็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้เช่นกัน[1] ซึ่งนักโบราณคดีได้ขุดพบส่วนพระบาทของของพระนอน เมื่อ พ.ศ. 2548
การบูรณะ[แก้]
องค์การยูเนสโกได้ข้าไปอนุรักษ์พื้นที่สามารถปะติดปะต่อชิ้นส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กกว่าที่หลงเหลืออยู่ให้ประดิษฐานอยู่ในโพรงหินทรายได้สำเร็จ แต่สำหรับพระพุทธรูปองค์ใหญ่นั้นไม่เหลือชิ้นส่วนให้นำมาปะติดปะต่อได้อีก แต่ถึงอย่างนั้นยูเนสโกจะต้องใช้เวลาอีกสองปีกว่าจะฟื้นฟูสถานที่ที่เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ได้สำเร็จ
มรดกโลก[แก้]
พระพุทธรูปแห่งบามียานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 27 เมื่อปี พ.ศ. 2546 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
- (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
- (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและ
ซากโบราณสถานแห่งหุบเขาบามียาน *
| |
---|---|
หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ที่สุดที่หน้าผาบามียานก่อนถูกทำลาย
| |
ประเภท
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
(i) (ii) (iii) (iv) (v)
| |
ประวัติการขึ้นทะเบียน
| |
ขึ้นทะเบียน
|
2546 (คณะกรรมการสมัยที่ 27)
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น