02.02.2561 โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน ณ.หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน.
01. โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน ณ.หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน.
พระพุทธรูปบามิยัน เคยยืนทอดสายตามองเหนือหุบเขาบาบิยัน ตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน มาเป็นเวลานานถึงกว่า 1,500 ปี ทว่า ในเดือน มี.ค. ปี พ.ศ. 2544 กลุ่มตอลิบันได้ใช้ระเบิดไดนาไมต์ ทำลายอันตธานไปจากหน้าผาหุบเขาบามิยัน และกลุ่มตอลิบันก็ล่มสลายในเวลาต่อมา แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ บามิยันเป็นอย่างยิ่ง
02.โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน ณ.หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน.
03.โครงการก
04.ภาพพระพุทธรูปบามิยันก่อนและหลังถูกทำลาย
*** ไม่มีข้อมูล วัน.เดือน.ปี ที่ได้จัดทำกิจกรรมนี้ครับ.
โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน จึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญต่างๆมาร่วมในโครงการฯด้วย โครงการฯได้ฉายภาพพระพุทธรูปทั้งหมดสองวัน วันละสิบกว่าชั่วโมง โดยมีผู้คนราว 150 คน ร่วมเป็นสักขีพยานในการกลับมาของพระพุทธรูป
ณ ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พระพุทธรูปแกะสลักแห่งหุบเขาบามิยัน ที่ชาวไทยมักเรียก หลวงพ่อ บิมิยัน ดูดั่งได้กลับมาปรากฏกายสว่างเรืองรอง ณ หุบเขาบามิยัน
02.โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน ณ.หุบผาบามียาน จังหวัดบามียาน ในพื้นที่ฮาซาราจัตทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน.
คู่รักเศรษฐีแดนมังกร จางซินอวี๋และเหลียงหง ทุ่มเงินราว 3.7 ล้านบาท เพื่อฉายภาพ พระพุทธรูปบามิยัน เป็นภาพสามมิติสีทองงามอร่าม ณ ช่องเขาบามิยัน ด้วยเทคโนโลยีการฉายภาพสามมิติ หรือที่เรียกกันว่าโฮโลแกรม เพื่อระลึกถึงการทำลายล้างพระพุทธรูปแกะสลักองค์นี้ ที่ถูกรัฐบาลตอลิบานแห่งอัฟกานิสถานสั่งให้ระเบิดทำลายไปเมื่อ 14 ปี ที่แล้ว
อันที่จริงความคิดในการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยันนั้น เดิมทีเป็นความคิดของศิลปินชาวญี่ปุ่น ฮิโร ยามากาตะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 แล้ว แต่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ยังไม่มั่นใจในเทคนิคการฉายภาพฯของเขา จึงไม่อนุญาตฯ เนื่องจากเกรงว่าจะสร้างความเสียหายแก่ช่องเขาเก่าแก่แห่งนี้
เมื่อสามีภรรยาจีนคู่นี้ได้ยินเรื่องราวของศิลปินแดนอาทิตย์อุทัย จึงได้เกิดแรงบันดาลใจ เนื่องจากทั้งคู่มีความรู้ความชำนาญในการฉายภาพสามมิติ และมั่นใจว่าจะไม่สร้างความเสียหาย ให้แก่โบราณสถานแห่งนี้
โครงการฉายภาพสามมิติ พระพุทธรูปบามิยัน จึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญต่างๆมาร่วมในโครงการฯด้วย โครงการฯได้ฉายภาพพระพุทธรูปทั้งหมดสองวัน วันละสิบกว่าชั่วโมง โดยมีผู้คนราว 150 คน ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการกลับมาอีกครั้งของพระพุทธรูปแกะสลักแห่งช่องเขาบามียัน
ชาวบ้านคนหนึ่งในละแวกนั้นกล่าวว่าแม้การฉายภาพจะไม่สามารถแทนที่พระพุทธรูปที่ถูกทำลายไป แต่ก็ช่วยย้ำเตือนว่าท่านยังไม่ได้ลบเลือนไปจากความทรงจำของผู้คน
สำนักข่าวสถานีโทรทัศน์กลางแห่ประเทศจีน หรือซีซีทีวี รายงานว่า หลังเสร็จสิ้นภารกิจ คู่รักมหาเศรษฐีได้บริจาคอุปกรณ์ในการฉายภาพให้แก่หน่วยงานดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นของบามิยัน
โดยกล่าวว่า นี่คือของขวัญที่ชาวจีนมอบให้แก่ชาวอัฟกานิสถาน และมีเงื่อนไขว่าหน่วยงานฯจะต้องจัดฉายภาพฯต่อไปในเดือน มี.ค. ของทุกปี
04.ภาพพระพุทธรูปบามิยันก่อนและหลังถูกทำลาย
ข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า พระพุทธรูปแกะสลักบามิยันในอัฟกานิสถานนี้ สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นพระพุทธรูปศิลปะกรีกโบราณสององค์ โดยองค์หนึ่งมีความสูง 53 เมตร และ 35 เมตร
มีอายุเก่าแก่ราว 1,500 ปี ได้รับการยอมรับให้เป็นพระพุทธรูปแกะสลักฝาผนังที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ต่อมาถูกรัฐบาลตอลิบานที่เคร่งศาสนาอิสลามแบบสุดโต่ง ระเบิดทำลายไปในเดือนมี.ค. พ.ศ. 2544
โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายอิสลามไม่อนุญาตให้บูชารูปเคารพ นำมาซึ่งเสียงประณามจากคนทั้งโลก
ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนพระพุทธรูปแห่งบามียันเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อปี 2546
องค์การยูเนสโกได้เข้าไปอนุรักษ์พื้นที่ สามารถปะติดปะต่อชิ้นส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กกว่าที่หลงเหลืออยู่ให้ประดิษฐาน อยู่ในโพรงหินทรายได้สำเร็จ แต่สำหรับพระพุทธรูปองค์ใหญ่นั้น
ไม่เหลือชิ้นส่วนให้นำมาปะติดปะต่อได้อีก แต่ถึงอย่างนั้นยูเนสโกจะต้องใช้เวลาอีกสองปีกว่าจะฟื้นฟูสถานที่ที่เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ได้สำเร็จ.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น